ป้ายโฆษณา
ภูมิแพ้

hc_diseasek_allergy



โรคภูมิแพ้

ในปัจจุบันนี้ เราพบโรคภูมิแพ้มากขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย เมื่อร่างกายเราได้รับสารบางอย่าง ที่เรียกกันว่า “สารก่อภูมิแพ้” (Allergens) จะทำให้เกิดปฏิกิริยา มีอาการแพ้ ทั้งนี้ โรคภูมิแพ้เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตาม เด็กอายุ 5-15 ปี มักจะมีอาการบ่อยกว่าในวัยอื่นๆ โดยจะแสดงอาการออกหลังจากได้รับสิ่งกระตุ้นมานานมากพอ

โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคเรื้อรังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่นเดียวกับ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ร่างกายของคนที่เป็นโรคนี้จะมีความไวต่อสารบางอย่างในสิ่งแวดล้อมทั่วไป สารเหล่านี้จะปนมากับอากาศที่หายใจ เช่น ฝุ่น ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า 0.3 มิลลิเมตร และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า รวมไปถึงเกสรจากพืช เชื้อรา ฯลฯ เมื่อสัมผัสผิวหนังโดยตรง จะทำให้เกิดสาร Histamine ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกปลดปล่อยจากภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการแพ้และคัน

โรคภูมิแพ้ มักจะมีสาเหตุหลักอยู่ 2 ประการ คือ

1. พันธุกรรม: ถ้าบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ มีกรรมกรรมพันธุ์เป็นโรคบางประการ เช่น หืด แพ้อากาศ ลูกก็จะมีโอกาสมากที่จะเป็นโรคดังกล่าว

2. สิ่งแวดล้อม: สิ่งนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะสารภูมิแพ้ที่จะเข้าสู่ร่างกายเรา ไม่ว่าจะเข้าทางระบบการหายใจ การรับประทานอาหารหรือจากการสัมผัส ล้วนแต่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น สาเหตุของภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อมนั้นรวมถึง อากาศที่เปลี่ยนแปลง มลพิษจากควันรถ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม แม้แต่ควันบุหรี่เองก็เป็นตัวการสำคัญ

โรคภูมิแพ้แสดงอาการได้หลายระบบ

-  ระบบการหายใจ ตั้งแต่การจาม คันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา คันคอ หรือไอเรื้อรัง มีเสมหะ มีอาการหอบเหนื่อย อาการดังกล่าวอาจเป็นๆ หายๆ หรืออาจมีอาการตามฤดูกาล

- ระบบผิวหนัง อาจเป็นลมพิษ ผื่นคันตามข้อพับ ในเด็กเล็กอาจมีผื่นแดงบริเวณแก้ม

- ระบบทางเดินอาหาร อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ปวดท้อง

- แสดงอาการทุกระบบ ในกรณีคนแพ้มาก อาจมีอาการหอบ หายใจลำบาก ลมพิษขึ้น หรือถึงกับช็อคก็มี

โรคภูมิแพ้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย บางคนอาจมีอาการภูมิแพ้ในระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบ บางคนอาจจะเริ่มจากการแพ้อากาศเรื้อรัง เยื่อจมูกอักเสบ เมื่อไม่ได้รับการรักษาต่อมาอาจกลายเป็น โรคหอบหืด หรือโรคผื่นคันผิวหนัง เช่น ลมพิษ หรืออ่อนเพลียต่าง ๆ

หลักในการรักษาโรคภูมิแพ้

1. ทดสอบภูมิแพ้ว่ามีสาเหตุจากประการใด จากนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้

2. รับประทานยา ฉีดยา หรือ พ่นยา แก้แพ้เป็นประจำ หรือ เมื่อแสดงอาการ

3. เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อสิ่งที่แพ้ โดยการฉีดยา หรือรับประทานพืชสมุนไพรกลุ่มที่เสริมภูมิคุ้มกัน และเม็ดเลือดขาวในร่างกาย

4. ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่ทำให้มีอาการแพ้มากขึ้น เช่น ผ่าตัดเอาเนื้องอกในจมูกออก ผ่าตัดหนองใน โพรงไซนัสให้ไหลออกมาได้สะดวก ผ่าตัดแก้ไขภาวะอุดตันของจมูกเพื่อให้หายใจโล่ง

ในการพิจารณาวิธีการรักษานั้น นอกจากแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรจะใช้วิธีใด หรืออาจจะใช้หลายวิธีรวมกันเพื่อควบคุมโรค ไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้แล้ว ผู้ป่วยก็มีส่วนสำคัญในการรักษาและพิจารณาทางเลือกในการรักษาด้วย

ในทางด้านแพทย์แผนไทยก็ได้กล่าวในทางทฤษฎีว่า เด็กแรกเกิด-16 ปี มักป่วยด้วยโรคที่มีต้นเหตุมาจากเสมหะ หมายถึง ธาตุน้ำชนิดหนึ่ง เสมหะจะมีที่ตั้งอยู่ที่คอ เรียกว่า ศอเสมหะ อยู่ที่ช่วงอก เรียกว่า อุระเสมหะ อยู่ที่ลำไส้ใหญ่ตอนล่าง เรียกว่า ดูดเสมหะ ลักษณะเสมหะ ก็จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1. เสมหะกำเริบ คือ มีมาก เช่น น้ำมูกไหล เสมหะในคอมาก

2. เสมหะหย่อน คือ เสมหะจะแห้ง เหนียว เมื่อเสมหะกำเริบมากๆ ก็จะพัฒนาไปสู่

3. เสมหะพิการ เสมหะหย่อนมาก ๆ ก็จะกลายไปสู่เสมหะพิการได้เช่นกัน

ดังนั้น ในวัยเด็กจึงมีโอกาสป่วยด้วยอาการ หวัด ไอ คออักเสบ ปอดบวม ท้องเสีย ท้องผูก อาการเหล่านี้หากเรื้อรังมากก็จะพัฒนาไปสู่การเป็นภูมิแพ้ หอบ หืด ไอ ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาการป่วยเรื้อรัง คือ ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน อยู่ในสภาพอากาศแออัด ไม่ถ่ายเท ไม่ออกกำลังกาย เคยเจ็บปวดด้วยไข้หวัด ไข้เลือดออก ไข้สูงมาก แล้วกระทุ้งพิษไข้ออกไม่หมด

ในคัมภีร์ตักศิลา ว่าด้วยอาการไข้ กล่าวว่า ผู้ใดป่วยเป็นไข้พิษ ไข้ที่มีเม็ดมีหัว แล้วกระทุ้งพิษไข้ออกไม่หมดพิษเหล่านั้นจะกลับเข้าไปอยู่ที่ตับ ปอด หัวใจ จะฝังตัวอยู่นาน เลยเป็นต้นเหตุทำให้สุขภาพไม่แข็งแรงไม่สบายอยู่บ่อยๆ หาสาเหตุไม่ได้ แต่บางคนอาจจะมีพฤติกรรมดังกล่าวแต่ไม่เกิดอาการอะไรเลยเพราะธาตุแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมีธาตุไม่สมบูรณ์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาแล้ว และยังเกี่ยวข้องกับกระบวนการคลอดออกมา และการดูแลในวัย 1-2 เดือน รวมถึงคุณภาพของอาหารและความเอาใจใส่ สภาพแวดล้อมที่ต่างกันทั้งในบ้านและนอกบ้าน

แนวทางในการป้องกัน คือ

1. อย่าทานยาแก้ไข้ แก้ปวด แก้อักเสบ พร่ำเพรื่อ

2. เมื่อมีไข้ให้ถ่ายพิษไข้ ด้วยการลดความร้อนของโลหิต ดื่มน้ำอุ่นมากๆ ขับอุจจาระ ปัสสาวะ ให้ออก

3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการกินของแสลง และอากาศที่ถ่ายเทได้ไม่ดี

4. ออกกำลังกาย

เมื่อรู้วิธีป้องกันดังที่กล่าวมานี้ ก็สามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไซนัส หอบหืด ไอเรื้อรัง ได้มากกว่า 90% เป็นแน่แล้ว และดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ในการพิจารณาวิธีการรักษานั้น นอกจากแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรจะใช้วิธีใด หรืออาจจะใช้หลายวิธีรวมกันเพื่อควบคุมโรค ไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้แล้ว ผู้ป่วยก็มีส่วนสำคัญในการรักษาและพิจารณาทางเลือกและให้ความร่วมมือในการรักษาด้วย

 

 

 

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก บริษัท กรุงเทพทิพโอสถ จำกัด

ยาประดง บริษัทกรุงเทพทิพโอสถ สรรพคุณแก้น้ำเหลืองเสีย

product_img1