ป้ายโฆษณา

psoriasis



โรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย บางคน อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคติดต่อ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่โรคติดต่อ เพราะโรคนี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียแต่อย่างใด โดย ทั่วไปนั้น คนเป็นโรคสะเก็ดเงินมีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุ-กรรมเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เมื่อได้รับการกระตุ้น จากสภาพแวดล้อม เช่น อาหาร อากาศ ก็จะมีอาการแสดงทางผิวหนัง เล็บ และบางราย อาจเกิดอาการอักเสบของเอ็นและข้อร่วมด้วย แต่ถ้าไม่มีปัจจัยกระตุ้น หรือส่งเสริมมากระทบผู้ป่วย โรคสะเก็ดเงินก็จะไม่แสดงอาการ ดังนั้น ผู้ป่วยจึง ควรสังเกตและพยายามวิเคราะห์ให้ได้ว่าปัจจัยแวดล้อมใด ทำให้โรคของตนกำเริบ แล้วพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านั้น และพึง เข้าใจว่าปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบในผู้ป่วยแต่ละรายอาจไม่เหมือนกัน

โรคสะเก็ดเงินจะพบประมาณ 1-2% ของประชากรทั่วโลก โดย เพศชายและหญิงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ใกล้เคียงกัน และพบ โรคสะเก็ดเงินในเด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก เนื่องจากปัจจัยกระตุ้นให้โรค ปรากฏในเด็กนั้นมีไม่มาก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ความ เครียดทางจิตใจ เป็นต้น และจากข้อมูลสถิติ พบว่า 10%ของผู้ป่วย ที่เข้าตรวจรักษาที่แผนกโรคผิวหนังตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ในปัจจุบันเป็นโรคสะเก็ดเงิน

ลักษณะสำคัญของโรค คือ ที่ผิวหนังของผู้เป็นโรคสะเก็ดเงิน จะมีปื้นแดงปกคลุมด้วยสะเก็ดสีเทาเงิน โดยปื้นแดงจะพบบริเวณ ข้อศอก ขา หลัง หนังศีรษะ ส่วนผื่นสะเก็ดเงินจะพบบริเวณข้อพับ ต่างๆ เช่น ขาหนีบ รักแร้ และใต้ฐาน เต้านมในผู้หญิง โดยผู้ป่วย แต่ละรายจะมีอาการมากน้อยต่างกัน บางคนเป็นแค่ 2-3 จุด ขณะที่ บางคนอาจจะลุกลามไปทั้งตัว มีปื้นแดงและสะเก็ดร่อนเป็นขุย ขาวๆ ตั้งแต่แขน ขา ลำตัว ขึ้นไปถึงศีรษะ หรืออาจพบความผิดปรกติที่เล็บ มีเล็บร่อนไม่ติดกับผิว หรือเล็บขรุขระถูกทำลายจนหมดไป นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการข้ออักเสบ ปวดข้อ ข้อบวมแดง โดยมักเป็น ข้อนิ้วสุดท้าย ปลายนิ้ว และข้อต่อบริเวณก้นกบ โดย 80%ของผู้ป่วย เป็นโรคสะเก็ดเงินที่มีอาการข้ออักเสบมักจะมีโรคที่เล็บด้วย

สาเหตุที่แท้จริงของการเป็นโรคสะเก็ดเงินนั้นยังไม่แน่ชัด แต่โดยทั่วไปนั้น คนเป็นโรคสะเก็ดเงินมีสาเหตุจากความผิดปกติทาง พันธุกรรมเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เมื่อถูกกระตุ้นจากสภาพแวดล้อม ก็จะ แสดงอาการ มีการแบ่งตัวและผลัดเซลล์ผิวหนังเร็วขึ้นจนหลุดร่อน เป็นขุยขาวๆ บ่อยๆ นอกจากนี้ ความผิดปกติของสารพันธุกรรม รวมกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือการแพ้ภูมิตนเอง ก็เป็น สาเหตุที่กระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเจริญเร็วกว่าปกติ โดยเซลล์ผิวหนัง ของคนทั่วไปจะใช้เวลา 28-30 วันเพื่อเจริญเต็มที่และหลุดออกไป แต่ในกรณีผู้เป็นสะเก็ดเงินจะใช้เวลาลดลงเหลือเพียง 2-3 วัน ทำให้ ผิวหนังมีการหนาตัวขึ้นและจะมีสะเก็ดจำนวนมาก สำหรับการเกิดผื่น มักเริ่มจากมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น เช่น ความเครียด การแกะเกา ที่ผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน และ การแพ้ยาบางชนิด

การรักษา ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ตำแหน่ง ของผื่น ความระคายเคืองของยา ทุนทรัพย์ของผู้ป่วย และความสะดวก ของผู้ป่วยที่จะมารับการรักษา ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นไม่มากนัก อาจเริ่ม ด้วยการทายาก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่อาจเกิดจากยารับประทาน แต่ในกรณีที่เป็นมาก คือ สะเก็ดเป็นวงกว้างมากว่า 20 % ของพื้นที่ ผิวหนังรวม หรือตำแหน่งกระจัดกระจายมาก ยาทาอาจใช้ไม่ได้ผล

การรักษาด้วยยาทา

1. ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นยาที่แพทย์โดยทั่วไปนิยมใช้รักษา โรคสะเก็ดเงินมากที่สุดในไทยในปัจจุบัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพใน การรักษาสูง ได้ผลเร็ว และสะดวก แต่ควรใช้ในระยะสั้นๆ หรือในช่วง ที่ผิวหนังกำเริบเท่านั้น เพราะหากใช้ติดต่อกันนานๆ อาจเกิดผล ข้างเคียงได้หลายประการ เช่น ผิวหนังฝ่อ ผิวด่างขาว หลอดเลือด ขยายตัว และเกิดการดื้อยา ผื่นอาจกลับมาเป็นใหม่ได้เร็วและรุนแรง (* ข้อควรระวัง: ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานและฉีดห้ามใช้ในโรค สะเก็ดเงิน เพราะจะทำให้โรครุนแรงขึ้น จนกลายเป็นโรคสะเก็ดเงิน ชนิดตุ่มหนอง หรือโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นแดงทั่วตัว)

2. น้ำมันดิน (Crude coal tar or wood tars) มักจะให้ผลการ รักษาใกล้เคียงกับยาสเตียรอยด์ แต่มีข้อเสียตรงที่มีกลิ่นเหม็นและ ติดเสื้อผ้าดูสกปรก นอกจากนี้ ยังระคายเคือง ทำให้ไม่อาจทาบริเวณ ใบหน้า ข้อพับ และบริเวณผิวหนังส่วนที่อ่อนบางได้

3. ยากลุ่มแอนทราลินหรือดิทรานอล (Anthralin or Dithranol) มีฤทธิ์กดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง ลดการหมุนเวียนของเซลล์ และ มีฤทธิ์กดการอักเสบ ใช้ได้ผลดีในผื่นของโรคสะเก็ดเงินที่เป็นปื้นหนา เช่น ปื้นหนาที่ศีรษะ แต่ไม่ควรใช้กับผื่นโรคสะเก็ดเงินที่แดงและมี น้ำเหลือง เพราะมีฤทธิ์ระคายเคือง อาจทำให้โรคกำเริบกลายเป็นโรค สะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนองกระจายทั่วตัว (* ข้อควรระวัง: โอกาสแพ้ยา)

4. ยากลุ่มวิตามิน D3 (Calcipotriol) มีทั้งในรูปครีมและขี้ผึ้ง ไม่มีสีหรือกลิ่นเหม็น ต่างจากยากลุ่มน้ำมันดินและแอนทราลิน ออกฤทธิ์กดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง และทำให้เซลล์ผิวหนังเจริญ สมบูรณ์ และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เหมาะกับใช้ทาผื่นสะเก็ดเงินชนิด ปื้นหนา (* ข้อควรระวัง: ยานี้ระคายเคืองต่อผิวหนังปกติที่อยู่รอบๆ ผื่น และอาจทำให้ผื่นแดงขึ้นได้ ไม่ควรใช้ยาเกิน 100 กรัม/สัปดาห์)

5. Salicylic acid เป็นกรดผสมอยู่ในครีมหรือขี้ผึ้ง มีฤทธิ์ช่วยลอก สะเก็ด ขุย บนผื่นสะเก็ดเงินที่หนาๆ ช่วยให้ยาทาชนิดอื่นซึมผ่านเข้า ผิวหนังได้ดี เหมาะที่จะใช้ในบริเวณศีรษะ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าที่ผื่นหนามาก ห้ามใช้ที่ข้อพับและในเด็ก เพราะอาจถูก ดูดซึมเข้าร่างกายจนเกิดพิษ

6. ยาทาให้ผิวชุ่มชื้น (Emollients) ผื่นผิวหนังอักเสบของ ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะไวต่อปัจจัยกระตุ้นภายนอกมาก เปรียบเหมือน กับคนที่กำลังโกรธ ถ้ามีอะไรมากระทบจะเกิดอาการอาละวาดกับผู้ที่ อยู่ใกล้เคียง ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นของโรคกำลังอักเสบแดงควร ทายาเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังบ่อยๆ เพื่อช่วยลดโอกาสระคายเคือง

การรักษาด้วยยารับประทาน มักใช้ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นผิวหนังอักเสบมากเกิน 20% ของพื้นที่ผิวหนัง และไม่ตอบสนองต่อยาทา โดยยารับประทานมีข้อ บ่งใช้และข้อห้ามมาก ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ เกิดภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง และผลข้างเคียงอื่นๆ โดยยารับประทาน ที่ใช้รักษาสะเก็ดเงินมี 4 กลุ่ม คือ เมโธเทร๊กเซท/ Methotrexate, กรดวิตามินเอ ได้แก่ Etretinate และ Acitretin, ไซโคสปอริน/ Cyclosporin และ ยากดระบบภูมิคุ้มชนิดอื่นๆ

ที่ผ่านมา ยังไม่พบวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่สามารถรักษา ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินให้หายขาดได้ โดยยาทาหรือยารับประทานที่มีใช้ อยู่ในปัจจุบัน จัดได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ (1) รักษาตามอาการ ที่แสดง ซึ่งเป็นปลายเหตุของโรค และ (2) รักษาโดยกดภูมิทำให้ ผู้เป็นสะเก็ดเงินไม่แสดงอาการเพียงเท่านั้น

แนวทางการรักษาโดยใช้สมุนไพร นับเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยสะเก็ดเงิน ทั้งนี้ วงการแพทย์ แผนไทยที่สั่งสมองค์ความรู้มาแต่โบราณกาล รู้จักโรคสะเก็ดเงินเป็น อย่างดีในอีกชื่อหนึ่ง คือ โรคเรื้อนกวาง ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่มีพิษทั้ง ในกระแสโลหิต ในน้ำเหลือง ในเนื้อ และลามลึกลงถึงในกระดูก โดย แพทย์แผนไทยแบ่งอาการของโรคนี้ออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ด้วยกัน คือ (1) ผิวหนังชื้น ลอก แดง เป็นลักษณะที่แสดงถึง ภาวะความผิดปกติของ น้ำเหลือง และ (2) ผิวหนังแห้ง ขุย ล่อน เป็นลักษณะที่แสดงถึงภาวะความผิดปกติของโลหิต

ยาตำรับจากสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินจึงปรุงขึ้นจากสมุนไพร 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มที่มีรสเมาเบื่อเพื่อแก้น้ำเหลืองเสีย แก้พิษโลหิต และกลุ่มที่บำรุงโลหิต โดยยาตำรับจากสมุนไพรที่รู้จัก แพร่หลายดีก็คือ ยาประดง สรรพคุณ แก้น้ำเหลืองเสีย นอกจากนี้ การรักษาแผนไทยยังผสมผสานการใช้ยาทาที่ทำจากพืชสมุนไพร ธรรมชาติเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น ให้แก่ผิว อาทิ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ขมิ้น น้ำต้มไม้มะหาดเพื่อชะแผล เป็นต้น ในปัจจุบัน ทั้งวงการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยยังคง ค้นคว้าวิจัยแนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงินใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าจะเลือก แนวทางการรักษาแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ทั้งลักษณะ อาการของโรค กำลังทรัพย์ ความสะดวกในการเข้ารับการรักษา และ วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจของตัวผู้ป่วยเองเป็นสำคัญ

 

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก บริษัท กรุงเทพทิพโอสถ จำกัด

ยาประดง บริษัทกรุงเทพทิพโอสถ สรรพคุณแก้น้ำเหลืองเสีย

product_img1